วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จัดเสวนาในท้องถิ่น

ทุกความเห็นมีค่าที่จะร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้านคนในชุมชนทั้ง อุปโภคบริโภค ชลประทาน การเกษตร สาธารณสุขและการเอาใจใส่ เด็ก คนชรา คนพิการโดยเฉพาะคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทางสำนักงานจึงจัดเสวนากับผู้ดูแลคนพิการ หน่วยงานต่างๆและผู้นำในชุมชนนั้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ตรงจุดและมีการประสานแบ่งปันข้อมูลกันตลอดเวลาเพื่อลดภาระของผู้ปกครองคนพิการทำให้มีการพัฒนาการดูแลกันและกันในสังคมอย่างยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล

จากการทำงานลงพื้นที่ตำบลต่างๆทำให้เห็นความเป็นอยู่ของคนพิการในสภาพที่ค่อนข้างแย่ไม่มีการดูแลที่ดีอยู่ตามมีตามเกิดไม่ได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยาภาพในทุกด้านทางสำนักงานฯจึงเก็บข้อมูลและประสานส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบให้การช่วยเหลือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553




2ปีที่ผ่านมาจากการทำงานประสานส่งต่อพิทักษ์สิทธิและให้ความรู้กับคนพิการตามชุมชนต่างๆทำให้คนพิการได้รู้ถึงสิทธิของตัวเองและกล้าตัดสินใจออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นโดยมีหน่ายงานคอยให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆและการเผยแพร่การเรียนรู้ความพิการที่สอนการช่วยเหลือคนพิการและการพูดคุยส้รางความเข้าใจซึ่งกันและกันให้กับผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ชุมชนนั้นๆมีความเข้าใจในความพิการ คนพิการและให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง








วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมของสำนักงานฯ

เพราะสังคมไทยในปัจจุบันมีความรู้มุมมองความพิการในทางที่บิดเบือน ทำให้มอง ความพิการ เป็นภาวะไร้ความสามารถและ ความพิการ ก็นำมาซึ่งภาระ ต่อสังคมและครอบครัว นั้นทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ถูกมองข้ามละเลย แม้จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.เพื่อคนพิการ ในปี ๒๕๓๔ แต่ในทางปฏิบัติสังคมไทยยังไม่ได้ทำอะไรอย่างจริงจังเพื่อเผยหรือแสดงคุณค่าและศักดิ์ศรีของคนพิการ การละเลยกีดกันคนพิการออกจากสังคมอาจสร้างความทุกข์ยากลำบากให้คนพิการอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกด้วย สำนักงานฯจึงอยากจัดทำข้อมูลด้านคนพิการ เนื่องด้วยคนพิการจังหวัดนครปฐมที่จดทะเบียนตาม พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการปี พ.ศ.๒๕๓๔ มีคนพิการทุกประเภทจำนวน ๗,๓๔๒ คน ซึ่งจังหวัดนครปฐมของเราได้ชื่อว่ามีจำนวนคนพิการที่จดทะเบียนที่แน่ชัดและมีความต่อเนื่องในการมีผู้จดทะเบียนรายใหม่ๆ อยู่เสมอ นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสำนักงานกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดนครปฐม มีบทบาทเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องมีการติดตามประสานงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระหว่างคนพิการด้วยกันเองอย่างต่อเนื่องและมีการบริการโดยอำนวยความสะดวกให้เพื่อนคนพิการด้วยกันโดยมีแกนนำผู้นำคนพิการในเขตพื้นที่ ๑๐๑ อบต.และ ๑๕ เทศบาลตำบลและ ๑ เทศบาลนครเป็นผู้ที่เป็นต้นแบบคนพิการมีการประชาสัมพันธ์อย่างดีที่สุด และในปัจจุบันนี้ได้มี
การลงพืนที่จัดการเปลี่ยนความคิดใหม่ให้คนพิการในชุมชนและผู้ปกครองได้รับรู้ถึงข้อมูลและปัญหาของคนพิการแต่และประเภทเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาและนำเสนอหน่วยงานภาครัฐหรือส่งต่อเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคนพิการให้มีชีวิตที่ดีและสามารถออกมาใช้ชีวิตร่วมกับสังคมและชุมชน




วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของสำนักงาน

ด้วยสำนักงานกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดนครปฐมได้จัดตั้งดำเนินงานด้านคนพิการในปีพ.ศ.๕๑ ได้เช่าห้องเพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานฯ ร่วมกับสมาคมคนพิการทุกประเภทจังหวัดนครปฐมทำงานเกี่ยวกับคนพิการเรื่องการเคลื่อนไหวตามแนวคิดเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนชีวิตใหม่ของคนพิการ ซึ่งสำนักงานกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดนครปฐมได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาชีวิตคนพิการทุกประเภทโดยดำเนินงานในด้านการจัดบริการให้กับคนพิการในจังหวัดนครปฐม เพื่อให้คนพิการมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และบอกความต้องการของตนเองให้สังคมได้รับรู้และยอมรับ โดยสำนักงานฯ จัดตั้งศูนย์บริการการความรู้ให้กับคนพิการจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนพิการที่สิ้นหวัง ไม่มีอนาคต ได้กลับมามีชีวิตใหม่ คืนสู่สังคมอีกครั้งเป็นจำนวนมาก การทำงานหลักของสำนักงานฯ มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้ สามารถออกมามีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อลดการเป็นภาระของครอบครัว และสามารถทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้ โดยเรามีความเชื่อว่าคนพิการนั้น ถ้าได้รับโอกาสที่ดีและเหมาะสม ก็จะสามารถดำรงชีวิตได้เฉกเช่นคนทั่วไปในสังคม วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานก็เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตของคนพิการ ซึ่งทางสำนักงานมีการจัดบริการให้กับคนพิการ ๖ อย่างคือ ๑. บริการข้อมูลข่าวสารและการส่งต่อ ๒. บริการการให้คำปรึกษาฉันท์เพื่อน ๓. บริการฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน ๔. บริการผู้ช่วยเหลือส่วนตัว ๕. บริการการจัดกลุ่มสนับสนุนคนพิการในชุมชน ๖.บริการพิทักษ์สิทธิ จากงานด้านการพิทักษ์สิทธิ์และงานบริการของสำนักงานกองทุนฯ ทำให้เกิดกลุ่มคนพิการซึ่งเป็นคนพิการรุนแรงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร,อาบน้ำ,แต่งตัว,ขับถ่าย จำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือ อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองจึงมารับบริการที่สำนักงานฯโดยจัดโปรแกรมในแต่ละวันว่าจะทำอะไรบ้างเป็นการทำให้คนพิการคิดบอกในสิ่งที่อยากจะทำโดยเราแค่ช่วยในสิ่งที่เขาทำไม่ได้